ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพจิต โรงพยาบาลนวเวช ให้ความสำคัญกับสุขภาพใจ เพราะใจกับกายสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ใจดีกายสุข กายแข็งแกร่งใจเบิกบาน เรามุ่งเน้นการดูแลตั้งแต่การเริ่มต้นของภาวะเครียด เพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล โดยจิตแพทย์ และทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต

 

เวลาทำการ
•   เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 09.00-20.00 น.

 

บริการของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพจิต

ปัจจุบันปัญหาทางสุขภาพจิตมีมากขึ้น มีความต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย การมาพบจิตแพทย์ จึงมีความสำคัญเพื่อค้นหาปัญหาที่แท้จริง เพื่อทำการบำบัดรักษาด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ
 

  • การให้คำปรึกษา
  • การปรับความคิด
  • การปรับพฤติกรรม
  • การบำบัดครอบครัว
  • การใช้ยา และอื่นๆ
     

แบบประเมินสุขภาพใจด้วยตนเอง (สำหรับผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป) คลิก : https://bit.ly/3WXK4Qg

 

ดนตรีบำบัด (MUSIC THERAPY) ช่วยฟื้นฟู รักษา ร่างกายและจิตใจ และพัฒนาด้านอารมณ์

 

ดนตรีบำบัด เป็นการนำดนตรีมาใช้ในทางการแพทย์ เพื่อรักษาผู้ป่วยหรือพัฒนาศักยภาพ ด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด และทักษะทางสังคม ทั้งแบบเดี่ยว และแบบกลุ่มในทุกช่วงวัย การนำดนตรีมาใช้ในการบำบัด รักษา แตกต่างจากการฟัง ร้อง หรือ เล่นดนตรีทั่ว ๆ ไป เนื่องจากในการบำบัดนั้น ดนตรีจะถูกใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรักษาและเพื่อการแก้ไขปัญหาของผู้รับบริการ โดยจะมีการพูดคุยรับรู้ถึงปัญหาและวางแผนการรักษาเป็นลำดับ โดยที่การรักษาทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับการใช้งานอย่างเหมาะสมและควบคุมโดย นักดนตรีบำบัด

 

ผู้ป่วยที่มีอาการและโรคในวัยเด็กเล็ก (3 – 8 ปี) – วัยเด็กโต (9 – 12 ปี)

 

เสี่ยง

  • โรคพัฒนาการล้าช้า
  • ความบกพร่องทางการเรียนรู้
  • ออทิสติก
  • ความผิดปกติด้านการพูด
  • โรคสมาธิสั้น
  • ความผิดปกติทางพฤติกรรม
  • โรคไฮเปอร์แอคทีฟ

 

ผู้ป่วยที่มีอาการและโรคในวัยรุ่น - ผู้ใหญ่

  • กลุ่มวัยรุ่น ตอนต้น (13 - 18 ปี) : เสี่ยงโรควิตกกังวล, โรคซึมเศร้า, โรคไบโพลาห์
  • กลุ่มวัยรุ่น ตอนปลาย (19 - 23 ปี) : เสี่ยงโรควิตกกังวล, โรคซึมเศร้า, โรคไบโพลาห์, ปัญหาการใช้สารเสพติด
  • กลุ่มวัยผู้ใหญ่ ตอนต้น (วัยทำงาน) (24 - 29 ปี) : เสี่ยง โรคซึมเศร้ำ, นอนไม่หลับ,โรคเครียด, โรควิตกกังวล, โรคไบโพลาห์
  • กลุ่มวัยผู้ใหญ่ ตอนปลาย (วัยสร้างครอบครัว) (30 - 59 ปี) : เสี่ยงโรควิตกกังวล, เครียด, นอนไม่หลับ, โรคเรื้อรัง, โรคจิตเภท
  • กลุ่มวัยชรา (วัยเกษียณ) (60 ปีขึ้นไป) โรคอัลไซเมอร์, โรคจิตเภท, นอนไม่หลับ, โรคเรื้อรัง

 

ประโยชน์ของดนตรีบำบัด

  • บรรเทาความทุกข์ ความเครียด ความวิตกกังวล
  • เสริมสร้างและบรรเทาความผิดปกติทางพัฒนาการ
  • กระตุ้นความจำ บรรเทาภาวะสมองเสื่อม
  • บรรเทาความเจ็บปวด
  • เพิ่มทักษะการสื่อสารและการแสดงความรู้สึก
  • ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย
  • ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมและสันทนาการ

 

กระบวนการรักษาด้วยดนตรีบำบัด

  • แพทย์ประเมินโรค และแนะนำแนวทางการรักษาด้วยยา ควบคู่กับการใช้ดนตรีบำบัด
  • นักดนตรีบำบัด พูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อประเมิน และวางแผนกิจกรรมดนตรีบำบัด
  • ดำเนินการดนตรีบำบัด โดยการฟัง / เล่นดนตรี, การร้องเพลง, การแต่งเพลง หรือเล่นเครื่องประกอบจังหวะต่าง ๆ
  • ประเมินผลการบำบัด เพื่อวัดประสิทธิผลจากการใช้ดนตรีบำบัด (สังเกตพฤติกรรม, ทำแบบทดสอบ, ฯลฯ)
  • สรุปผลการรักษาจากแพทย์ และนักดนตรีบำบัด

 

กิจกรรมดนตรีบำบัด

  • เล่นดนตรีแบบสร้างสรรค์
  • Improvisation (การเล่นโดยแต่งขึ้นสด ๆ )
  • เล่นเครื่องดนตรี
  • Life review / reminiscence
  • การวิเคราะห์เนื้อเพลง
  • การฝึกพูดด้วย Melodic Intonation Therapy
  • การเคลื่อนไหวร่างกายกับดนตรี
  • ดนตรีและจินตนาการ ฯลฯ

 

 

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

พญ.เต็มหทัย นาคเทวัญ
จิตเวชศาสตร์
ข้อมูลแพทย์
นพ.กฤตธี ภูมาศวิน
จิตเวชศาสตร์
ข้อมูลแพทย์
พญ.กุลธิดา วงศ์ปราการสันติ
จิตเวชศาสตร์
ข้อมูลแพทย์