ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ และหลอดเลือด ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจวินิจฉัย และการรักษาจากทีมแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจที่มีประสบการณ์ในหลากหลายอนุสาขา รวมถึงเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากลที่พร้อมดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง
เวลาทำการ
- เปิดให้บริการทุกวัน 08.00-20.00 น.
โครงสร้างของศูนย์หัวใจโรงพยาบาลนวเวชประกอบด้วย
- คลินิกโรคหัวใจ (Cardiology Clinic)
- ห้องปฏิบัติการวินิจฉัยหัวใจ และหลอดเลือด (Noninvasive Cardiovascular Laboratory)
- ห้องสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory)
- หอผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจ (Cardiac Care Unit)
- ห้องผ่าตัดหัวใจ (Cardiovascular Operating Room) ทั้งหมดอยู่ภายในพื้นที่เดียวกันตั้งอยู่ที่ชั้น 4 ของโรงพยาบาลนวเวช
คลินิกโรคหัวใจ (Cardiology Clinic) และห้องปฏิบัติการวินิจฉัยหัวใจ และหลอดเลือด (Noninvasive Cardiovascular Laboratory)
มีแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจออกตรวจในหลากหลายสาขาได้แก่ อายุรแพทย์โรคหัวใจทั่วไป อายุรแพทย์โรคหัวใจอนุสาขาคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ อายุรแพทย์โรคหัวใจอนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด อายุรแพทย์โรคหัวใจอนุสาขาสรีระไฟฟ้าหัวใจ และศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก ให้การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ซับซ้อน รวมทั้งการตรวจประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของโรคหัวใจแบบองค์รวม ให้คำแนะนำการรักษาในการรักษาแบบผู้ป่วยนอกโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด มีระบบติดตามอาการ และการนัดหมายด้วยทีมพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์สูงในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ
การตรวจวินิจฉัยทีมแพทย์ของศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลนวเวชให้ความสำคัญกับการซักประวัติ และตรวจร่างกายระบบหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงพิจารณาการส่งตรวจสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือที่ทันสมัย ได้แก่
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead electrocardiogram)
- การตรวจภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Ankle Brachial Index)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหน้าอก (Transthoracic Echocardiogram)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร (Transesophageal Echocardiogram)
- การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินสายพาน (Treadmill Exercise Stress Test)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย (Exercise Stress Echocardiogram)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงโดยใช้โดบูตามีนกระตุ้น (Dobutamine stress Echocardiogram)
- การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง (Holter Monitoring)
- การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24-72 ชั่วโมงด้วยอุปกรณ์พิเศษที่สามารถออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ต่อเนื่องแบบเรียลไทม์
(S-Patch Ex) - การทดสอบระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและหลอดเลือดด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt Table Test)
- เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ (Spectral Computed Tomography) สำหรับการตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ (CAC Score) การตรวจหลอดเลือดหัวใจผ่านการฉีดสารทึบรังสี (Coronary CT Angiogram) การตรวจโครงสร้างหัวใจ (Cardiac CT)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI 3 Tesla)
ห้องสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Labarotory)
เป็น Biplane Cath Lab ซึ่งทำให้ได้ภาพการฉีดสีเป็นสองระนาบพร้อมกัน ทำให้ได้ภาพที่แม่นยำ คมชัด รังสีต่ำ รวมถึงใช้สารทึบรังสีปริมาณน้อยลง โดยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงด้วยอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยพร้อมทีมแพทย์เฉพาะทาง และพยาบาลที่มีประสบการณ์สูง สามารถทำหัตถการเพื่อวินิจฉัย และรักษาโรคหัวใจ และหลอดเลือดซับซ้อนดังต่อไปนี้
1. หัตถการหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Intervention)
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และใส่ขดลวดค้ำยันผ่านสายสวนฉุกเฉินในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน (Primary Percutaneous Coronary Intervention)*มีทีมแพทย์โรคหัวใจอนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดตลอด 24 ชั่วโมง
- การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Diagnostic Coronary Angiogram)
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และใส่ขดลวนค้ำยันผ่านสายสวน (Elective Percutaneous Coronary Intervention)
- การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบตันเรื้อรัง 100% ด้วยเทคนิคเฉพาะผ่านลวดตัวนำ สายสวนชนิดพิเศษ กรอหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยหัวกรอขนาดเล็กผ่านสายสวน (Rotablator)
- การใส่สายสวนวัดแรงดันในหลอดเลือดหัวใจ (Fractional Flow Reserve: FFR) ช่วยประกอบการตัดสินใจการขยายหลอดเลือดหัวใจในรายที่ผลการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจก้ำกึ่ง ช่วยลดการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยไม่จำเป็น
- การตรวจภายในหลอดเลือดหัวใจด้วยการถ่ายภาพคลื่นเสียงสะท้อน (Intravascular Ultrasonography: IVUS) และคลื่นสะท้อนความถี่สูงใกล้เคียงรังสีอินฟราเรด (Optical Coherence Tomography: OCT)
2. หัตถการหลอดเลือดร่างกายบริเวณอื่น
- การฉีดสีดูหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (Carotid Artery Angiogram) และการขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (Carotid Artery Angioplasty)
- การฉีดสีดูหลอดเลือดที่เลี้ยงเส้นเลือดส่วนปลายที่แขนหรือขา (Peripheral Angiogram) และการขยายหลอดเลือดเลี้ยงแขนขา (Percutaneous Transluminal Angiography)
- การฉีดสีเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไต (Renal Artery Angiogram) และการทำขยายเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไต (Renal Angioplasty)
3.หัตถการโครงสร้างและลิ้นหัวใจ (Structural Intervention)
- การใส่สายสวนตรวจโครงสร้างของหัวใจข้างขวา และหลอดเลือดแดงปอด (Right Heart Catheterization) เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดบางชนิด โรคของหัวใจข้างขวา และโรคความดันเลือดปอดสูงผิดปกติ
- การตัดส่งตรวจชิ้นเนื้อหัวใจ (Endomyocardial Biopsy)
- การฝังอุปกรณ์ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (Left Atrial Appendage Occluder)
- การดูดลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดปอด (Catheter-Directed Thrombectomy for Pulmonary Embolism)
- การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน (Transcatheter Aortic Valve Implantation: TAVI)
- การซ่อมแซมลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วผ่านสายสวน (Transcatheter Mitral Valve Repair: TMVR)
- การรักษาโรคหัวใจแต่กำเนิดผ่านทางสายสวน (Percutaneous Interventions for Adult Congenital Heart Disease)
4. หัตถการสรีระไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Electrophysiology)
- การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiologic Study) เพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หาสาเหตุของอาการวูบหมดสติ ตรวจการทำงานของการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ และ ประเมินความเสี่ยงในโรคไฟฟ้าหัวใจบางชนิด
- การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจด้วยการสร้างภาพสามมิติของหัวใจโดยใช้สายเก็บสัญญาณความละเอียดสูง (Three-dimensional Electroanatomical Mapping) เพื่อวินิจฉัย และหาตำแหน่งผิดปกติเพื่อรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจผ่านสายสวนในรายที่จำเป็นต้องใช้ภาพสามมิติแสดงกายวิภาค และการนำไฟฟ้าของหัวใจอย่างละเอียด เช่น การจี้ไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว โรคสัญญาณไฟฟ้าแทรกผิดปกติและโรคไฟฟ้าหัวใจลัดวงจรในหัวใจห้องบน และห้องล่าง
- การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจผ่านสายสวน (Radiofrequency Ablation) เป็นการทำลายเนื้อเยื่อที่มีกำเนิดหรือการนำไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจโดยใช้ความร้อนที่ปลายสายที่กำเนิดมาจากคลื่นวิทยุ ห้องสวนหัวใจโรงพยาบาลนวเวชทำการจี้ไฟฟ้าหัวใจในโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายชนิดได้แก่
- Paroxysmal Supraventricular Tachycardia (PSVT)
- Atrioventricular Nodal Reentrant Tachycardia (AVNRT)
- Atrioventricular Reentry Tachycardia (AVRT)
- Typical and Atypical Accessory Pathway
- Focal and Macroreentrant Atrial Tachycardia (Typical and Atypical Atrial Flutter)
- Atrial Fibrillation (PV isolation, CFAE ablation, Accessory Line and Non-PV trigger ablation)
- Idiopathic Ventricular Arrhythmias
- Scar-reentry Ventricular Tachycardia
5. หัตถการฝังเครื่องกระตุ้นและเครื่องกระตุกหัวใจ (Cardiovascular Implantable Electronic Devices)
- การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดชั่วคราว (Temporary Transvenous Pacemaker)
- การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรทั้งแบบหนึ่งและสองสาย (Single- and Dual- Permanent Transvenous Pacemaker)
- การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรแบบไร้สาย (Leadless Pacemaker)
- การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรที่ระบบนำไฟฟ้าของหัวใจ (Conduction System Pacing)
- การฝังเครื่องสมานฉันท์หัวใจ (Cardiac Resynchronization Therapy) ด้วยการฝังสายกระตุ้นหัวใจข้างซ้ายผ่านหลอดเลือดดำของหลอดเลือดหัวใจ และการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจที่ระบบนำไฟฟ้าหัวใจ (Conduction System Pacing)
หอผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจ (Cardiac Care Unit)
โรคหัวใจเป็นโรคที่ต้องการการรักษาโดยใช้ระยะเวลาอันรวดเร็ว และอาศัยความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ในการวินิจฉัย และรักษาโรค ทางโรงพยาบาลนวเวชจึงมีหอผู้ป่วยวิกฤติเฉพาะทางด้านโรคหัวใจ ที่มีอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมทีมแพทย์พยาบาลเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจอย่างแท้จริง ที่ประจำอยู่เพื่อดูแลคนไข้ตลอด 24 ชั่วโมง
ห้องผ่าตัดหัวใจ (Cardiovascular Operating Room)
ด้วยทีมศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจ และทีมพยาบาลผู้ช่วยผ่าตัดประสบการณ์สูงพร้อมให้การรักษาตลอด 24 ชั่วโมง และห้องผ่าตัดที่ครบครันด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย สามารถทำการผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) ในรายที่มีข้อบ่งชี้เช่นมีรอยโรคในหลอดเลือดหัวใจหลายเส้น กายวิภาคของรอยโรคในหลอดเลือดหัวใจไม่เอื้อต่อการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน การทำผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจไมตรัล ลิ้นหัวใจเอออร์ติก และลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Mitral Valve Repair, Mitral Valve Replacement, Aortic Valve Replacement, Tricuspid Valve Repair, Tricuspid Valve Replacement)